การประชุมกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) ครั้งที่ 1/2562

Event-Date: 
Thursday, April 4, 2019 - 09:30 to 12:30
Document Upload: 

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดการประชุมกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) ครั้งที่1 ประจำปี 2562 โดยจัดประชุมที่โรงแรมรามาการ์เดน ถนนวิภาวดีรังสิต

 

งานเสวนาแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ ประเด็นความเชื่อมโยง (Connectivity) ประเด็นเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว (Economic, Trade, Investment and Tourism) และ ประเด็นความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Culture Relations) ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา

 

ทั้งนี้ งานเสวนาวิชาการเชิงลึกจัดขึ้นเพื่อระดมสมองจากแต่ละภาคส่วน และนำข้อสรุปที่ได้ไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป

 

 

๑. ประเด็นการพัฒนา

 

๑.๑ BRI ก่อให้เกิดการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนอย่างรอบด้าน โดยการเชื่อมโยงภูมิภาคจากจีนไปสู่ประเทศในเอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตก แอฟริกาเหนือ และยุโรป ทาให้ภูมิภาคเหล่านี้ได้แลกเปลี่ยนและสร้างประโยชน์ร่วมกัน ด้วยการสร้างระเบียงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และช่องทางการขนส่งคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง อันเป็นการผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนการเปิดตลาดซึ่งกันและกัน ซึ่งจีนให้ความสาคัญต่อประเทศไทยที่มีสภาพภูมิรัฐศาสตร์เป็นศูนย์กลาง (Hub) ในการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่อยู่ในภาคพื้นทวีปและทางทะเล นอกจากการที่ BRI จะยึดถือความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานและเป็นแกนหลักแล้ว ยังได้มีการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สาคัญในการดาเนินการ โดยการปฏิบัติตามหลักการร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ และร่วมแบ่งปันกันกับประเทศต่างๆ อันจะนามาซึ่งการสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความมั่นคงและการเมือง ด้วยการผลักดันการดาเนินการที่ประกอบด้วย (๑) การประสานงานด้านนโยบาย (๒) การสร้างสิ่งอานวยความสะดวกในการเชื่อมต่อ (๓) การขจัดข้อจากัดและอุปสรรคทางการค้า (๔) การเสริมสร้างความร่วมมือการควบคุมทางการเงินแบบบูรณาการ และ (๕) การสร้างความสัมพันธ์จากประชาชนสู่ประชาชน

 

 

๑.๒ ประเด็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวมีสาระสาคัญดังนี้

 

ด้านเศรษฐกิจการค้า คนไทยยังมีข้อมูลไม่เพียงพอแก่การทาการค้าร่วมกับจีนอาทิ ช่องทางที่คนจีนนิยมในการรับทราบข้อมูลและประเภทของสินค้า ระหว่างภาคธุรกิจต่อภาคธุรกิจ(B2B) หรือภาคธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C) ด้านกาลังการซื้อของผู้บริโภคชาวจีนนั้น ไทยยังมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อทิศทางแนวโน้มและประเภทของการบริโภคของคนชั้นกลางในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุของจีน ที่อาจจะขึ้นถึง ๔๐% (ประมาณ ๕๒๐ ล้านคน ในอีกประมาณสิบปีข้างหน้า (ค.ศ. ๒๐๓๕))


ด้านการลงทุน กฎหมายไทยยังไม่เอื้ออานวยให้กับการลงทุนระหว่างประเทศ ที่เป็นมาตรฐานสากลรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของชุมชนและความสมดุลกับการเอื้ออานวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างชาติโดยตรง (Foreign Direct Investment: FDI) กฎหมายการคุ้มครองการลงทุนกับสถาบันการลงทุนต่างชาติยังมีช่องว่างจนอาจเกิดปัญหากับดักหนี้ (Debt Trap) ระหว่างชาติได้

 

ด้านการท่องเที่ยว ยังมีความไม่สมดุลระหว่างการอานวยความสะดวกการท่องเที่ยวกับการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของคนและชุมชน รวมถึงวัฒนธรรมการจัดการด้านข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากในการท่องเที่ยวในประเทศไทย อาทิ การออกข่าวพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ไม่เหมาะสมกับการออกข่าวความผิดด้านอาชญากรรม

 

 

๑.๓ ประเด็นปัญหาด้านสังคมวัฒนธรรม แม้จะมีคากล่าวที่ว่า “ไทย-จีนใช่อื่นไกล เป็นพี่น้องกัน” และคนจีนได้เข้ามาอยู่อาศัย ปรับตัวเข้ากับบริบทสังคมไทยมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัยแล้ว แค่การขยายอิทธิพลของจีนในปัจจุบันได้สร้างความหวาดระแวงให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ที่คนจีนบางกลุ่มมุ่งหาประโยชน์ผ่านกิจการต่างๆ เช่น ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญ การประกอบกิจการและการครอบครองทรัพย์สินแบบนอมินี ปัญหาผสมกลมกลืนชาวจีนอพยพรุ่นใหม่เข้าสู่สังคมไทยที่ทาได้ยากเพราะสภาพแวดล้อมแตกต่างจากอดีตที่รัฐบาลไทยเคยประสบความสาเร็จในการเปลี่ยนคนจีนมาเป็นไทย การดาเนินงานในรูปแบบการก่อตั้งสมาคมของชาวจีนกลุ่มใหม่มีความแตกต่างจากวิถีปฏิบัติของชาวไทยเชื้อสายจีนที่ตั้งรกรากในประเทศไทยมานาน

 

 

๒. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

 

๒.๑ ควรมีการยกระดับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน วช. ให้เป็นศูนย์ข้อมูลและหน่วยประสานงานกลาง ในระดับชาติ เพื่อการศึกษาวิจัยแนวนโยบายและรูปแบบการเชื่อมโยงของ BRI ของจีน และการจัดทาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของไทยให้เป็นรูปธรรมโดยมีการติดตามประเมินผลการเชื่อมโยงระหว่าง BRI ของจีน กับโครงการ EEC ของไทย โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยี ทั้งในแง่ของการลงทุนและการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ รวมทั้งผลักดันการใช้ดิจิทัลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อันจะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันทั้งของไทยและจีน ควรส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับจีนภายใต้กรอบ BRI เช่น การปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา และการจัดระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน ฯลฯ ที่จะอานวยประโยชน์ต่อโครงการ EEC ของไทย ให้เป็นศูนย์กลางการค้าและบริการในภูมิภาค อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพและ ขีดความสามารถของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง ด้วยการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาคน

 

 

๒.๒ ควรส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้

 

ด้านเศรษฐกิจการค้า สร้างผลผลิตงานวิจัยด้าน Demand and Supply ให้ลุ่มลึกทั้งภาคอุตสาหกรรมพืชผลการเกษตร องค์ความรู้ด้าน Knowhow ช่องทางค้าทั้ง Online และ Offline (O2O) ที่หลากหลาย โดยผลผลิตงานวิจัยต้องมีทั้ง Passive และ Active Researches การศึกษาผลกระทบของสงครามการค้าทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวในอนาคต เป็นต้น

 

ด้านการค้าการลงทุน สร้างผลผลิตงานวิจัย เพื่อหยุดทุนนิยมสามานย์ โดยเชิญชวนนักลงทุนระดับแนวหน้า (Elite) เข้ามาลงทุน การทาสัญญาการค้าต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (Public Hearing) ร่วมมือกับคลังสมองของจีนให้รู้จักทิศทางการพัฒนาไทยแลนด์ ๔.๐ ให้สิทธิพิเศษกับการค้าการลงทุนที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสอดคล้องชุมชนท้องถิ่น รวมถึงเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าทั้งเกษตรและอุตสาหกรรมในท้องถิ่นอย่างแท้จริง (Corporate Social Responsibility: CSR) ที่ไม่ใช่เป็นเพียงการ PR

 

ด้านการท่องเที่ยว สร้างผลผลิตงานวิจัย ที่มีกลไกลการบูรณาการข้อมูลการท่องเที่ยวสู่การค้าการลงทุน นวัตกรรม และวัฒนธรรม การบูรณาการภาคการสื่อสารกับมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งไทยและจีน ตัวอย่าง ศูนย์ทดสอบ 5G ระหว่าง กสทช กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดการ Big DATA , IoT, Responsibility Artificial Intelligence : RAI การปรับ Mindset เข้ากับ Connectivity ให้สอดประสานมากขึ้น เรื่องการผลิตเนื้อหาร่วมทาง ทีวี วีดีโอ ในการ Broadcasting การจัดกลุ่มการท่องเที่ยวเป็นระดับ Mass and cluster tourism

 

 

๒.๓ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้เรื่องประเทศจีนอย่างถ่องแท้ เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางสังคมวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสมาคมการค้า สมาคมบ้านเกิด สมาคมกลุ่มภาษา สมาคมตระกูลแซ่ โดยศึกษาการดาเนินงานของสมาคม “รุ่นเก่า” กับแสวงหาความร่วมมือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน และพยายามใช้แนวทางสร้างให้เกิด “การเชื่อมใจ” กับกลุ่มคนจีนที่เข้ามาใหม่ รวมทั้งควรส่งเสริมให้การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีน เป็นไปอย่างสมดุล ส่งเสริมให้มีสถานที่เพื่อเป็นสัญลักษณ์และศูนย์กลางในการสร้างความเข้าใจและเผยแพร่แผนงานกิจกรรมความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยกับจีน โดยการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในประเทศจีนตามข้อตกลง เพื่อดาเนินงานในลักษณะเช่นเดียวกับที่รัฐบาลจีนได้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจีนในประเทศไทย เมื่อ ๖ ปีที่ผ่านมา

 

 

Facebook Comments Box